บทที่ 3

ตลาดเป้าหมายและแนวโน้มการขายออนไลน์

ความหมายและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

1. ความหมายของการตลาดเป้าหมาย
              ตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนที่คุณต้องการจะสื่อสารหรือขายสินค้ากับพวกเขา กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกเขาอาจจจะเป็นผู้ที่ซื้อสินค้าหรือเป็นลูกค้าในปัจจุบันของคุณอยู่แล้ว
              กลุ่มเป้าหมาย จะมีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกันในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านก็ได้เช่น มีคุณสมบัติบางอย่างที่คล้ายกัน อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือมีพฤติกรรมบางอย่างในทำนองเดียวกัน เป็นต้น

2. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
              วัตถุประสงค์ของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ การคัดเลือกรายชื่อหรือกลุ่มคนที่มีความต้องการในสินค้าหรือบริการของกิจการ
              กลุ่มเป้าหมายหนึ่ง ๆ จะมีลักษณะความสนใจ ความปราถนา และพฤติกรรมที่แตกต่างจากตลาดผู้บริโภคทั่วไป 
              การกำหนดกลุ่มเป้าหมายจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดว่า ใครซื้ออะไร ที่ไหน เหล่านี้อย่างไร และทำไม ข้อมูล คำตอบ เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการตลาด เพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพหรือให้ผลคุ้มค่ามากที่สุด

ข้อมูลลูกค้าเป้าหมาย


1. ลักษณะของข้อมูลลูกค้า
    ลักษณะของข้อมูลลูกค้า ( Customer Profile )
ประกอบด้วย คุณลักษณะ/ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ พื้นที่/ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ และข้อมูลเชิงจิตวิทยา ซึ่งทั้ง 3 ประเภทคือข้อมูลที่บอกถึงตลาดเป้าหมายหรือกลุ่มเป้าหมายหนึ่งๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร
  1.  ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์
  2.  พื้นที่/ข้อมูลเชิงภูมศาสตร์
  3.  ข้อมูลเชิงจิตวิทยา






2. การกำหนดลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย
           การกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายได้เจาะจงมากเพียงใด โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะตอบสนองต่อแคมเปญการตลาดทางตรงของกิจการก็จะมากขึ้นเท่านั้น
           การกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำได้โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
  •  มีบ้านหรือที่พักอาศัยเป็นของตนเอง
  •  สมรสแล้ว
  •  จำนวนบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป


3. แหล่งที่มาของรายชื่อประเภทต่างๆ
          นักการตลาดทางตรงได้แบ่งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มต่างๆ ตามแหล่งที่มาของรายชื่อ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานเป็นหลัก ทั้งี้ การแบ่งรายชื่อบางประเภท จะมีความคล้ายคลึงกันในบางกลุ่ม ดังนี้
  •  รายชื่อภายใน
  •  รายชื่อสมาชิก
  •  รายชื่ออีเมล 
  •  รายชื่ออื่นๆ



วัตถุประสงค์ของการกำหนดเป้าหมายทางการตลาด

  1.  เพื่อเพิ่มยอดขาย
  2.  เพื่อการสร้างประชาสัมพันธ์
  3.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ถาวรกับลูกค้าเป้าหมาย
  4.  เพื่อรักษาลูกค้าเดิมและเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่


แนวโน้มการขายออนไลน์ในประเทศไทย

         ปัจจุบันการขายออนไลน์ในประเทศไทย กำลังจะเริ่มต้นและบุคคลทั่วไปให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาทำให้วงการอีคิมเมิร์ชของประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยลูกค้าซื้อของออนไลน์ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนั้น มีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มการขายออนไลน์ของประเทศไทยมีดังนี้





  1.  ระบบชำระเงินออนไลน์ที่สะดวก
  2.  เว็บไซต์สามารถสร้างได้ง่าย
  3.  สินค้าขายออนไลน์มีการส่งเสริมการขายโดยวิธีการลดราคา
  4.  รูปแบบร่วมกันซื้อแล้วลด การค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ช
  5.  การเข้าสู่โลกออนไลน์ของห้างออฟไลน์



การค้าบนโลกออนไลน์ของไทยขณะนี้เติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะปี 2555 ซึ่งถือเป็นปีที่เปลี่ยนแปลงมากทีเดียว เป็นปีที่ระบบพื้นฐานสนับสนุนการค้าออนไลน์พัฒนาเพิ่มขึ้น ได้แก่ การขนส่งสินค้าที่หลากหลาย ระบบชำระเงินที่หลากหลาย พฤติกรรมคนไทยที่เริ่มจับจ่ายซื้อของออนไลน์เพิ่ม ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซที่เริ่มมีมากขึ้นจากปีก่อนๆ
          ผมมองว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่หากลองมาดูว่าอะไร คือ แนวโน้ม หรือเทรนด์อีคอมเมิร์ซไทยในปี 2556 จากประสบการณ์ และมุมมองผมเอง จะสร้างความได้เปรียบให้คุณมากเลยทีเดียว  หากนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้ก่อนคนอื่น
          1. พฤติกรรมคนไทยจะซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น  (Online Shopping Behavior Shift)
          ปี 2555 มีคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 25 ล้านคน และตอนนี้ มีสินค้าผู้ประกอบการไทยที่ขายในโลกออนไลน์มากกว่า 10 ล้านรายการแล้ว มีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การค้นหาซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย และสะดวกสำหรับทุกคนในประเทศ
          สิ่งที่เห็นชัดจากการสำรวจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) พบว่า คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 47.8% เป็น 57.2% และตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการออนไลน์ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน ทำให้เห็นชัดว่า พฤติกรรมคนไทย เริ่มค้นหาสินค้า และจับจ่ายผ่านทางออนไลน์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง
          อีกทั้งการรวมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน (เออีซี) จะยิ่งทำให้โอกาสค้าขายทางออนไลน์เปิดกว้างมากขึ้น และขยายโอกาสเข้าสู่คนมากกว่า 600 ล้านคน ช่องทางออนไลน์ คือ ช่องทางเดียว ประหยัดค่าใช้จ่ายแต่มีศักยภาพเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจทางตรงทันที
          คำแนะนำ : หากธุรกิจคุณยังไม่มีเว็บขายสินค้า คงได้เวลาเตรียมอย่างเป็นกิจจะแล้ว เพื่อรองรับความต้องการ รวมถึงการมีหลายภาษาอย่างภาษาอังกฤษเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาซื้อสินค้าคุณได้
          2. จากแคตตาล็อกออนไลน์สู่ร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ (E-Catalog move to E-Tailor)
          ปัจจุบันเว็บจำนวนมากของหลายธุรกิจในไทย ยังเป็นเว็บให้ข้อมูลบริษัท (Corporate Web Site) หรือเป็นแค่แคตตาล็อกสินค้า (Catalogue Web Site) ที่สั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ทันทีไม่ได้ ต้องโทรหรือติดต่อไปผ่านทางช่องทางอื่นแทน ซึ่งจะทำให้สูญเสียโอกาสการขายสินค้าไป
          ในโลกออนไลน์หากคุณปล่อยให้ลูกค้าต้องโทรติดต่อ หรือติดตามคุณ นั่นหมายถึงโอกาสที่คุณจะสูญเสียลูกค้าเหล่านั้น สูงมากกว่า 50% แต่หากธุรกิจคุณมีระบบการค้าออนไลน์ที่ เปิดโอกาสให้ลูกค้าคลิกสั่งซื้อสินค้าของธุรกิจของคุณได้ทันที  นั่นหมายถึงคุณจะสามารถปิดการขายลูกค้าได้ทันทีเป็นช่องทาง ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วประเทศและทั่วโลก ไม่ต้องมีคนมานั่งเฝ้าตลอดเวลา
          ดังนั้นปี 2556 จะเป็นปีที่หลายๆ ธุรกิจไทย เริ่มเห็นถึงศักยภาพการค้าออนไลน์มากขึ้น เพราะมีหลายคนเริ่มประสบความสำเร็จและเพิ่มยอดขายได้มากมาย ผ่านช่องทางนี้ ทำให้หลายธุรกิจจะเริ่มเปลี่ยนจากเว็บไซต์รูปแบบเดิมๆ เข้าสู่เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์  (E-Tailor) เต็มรูปแบบมากขึ้น
          คำแนะนำ : สร้างเว็บไซต์ของคุณให้รองรับการซื้อสินค้าออนไลน์ทันที นึกไม่ออกลองไปใช้บริการฟรี ของ TARAD.com ได้
          3.สินค้าอุปโภคบริโภคจะเริ่มเข้าสู่โลกการค้าออนไลน์มากขึ้น (FMCG Goods Go Online)
          จากเดิมที่สินค้าอุปโภคบริโภค จะเน้นการตลาดในการสื่อสารสร้างแบรนด์ และโปรโมชั่นแล้วดึงคนไปซื้อตามจุดขายต่างๆ เป็นหลัก แต่ปี 2556 จะเป็นปีที่สินค้าหลายๆ ตัวจะเริ่มต้นการใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น และใช้การตลาดออนไลน์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดยอดขาย ผ่านไปยังกลุ่มเป้าหมายลูกค้าทั่วประเทศ แนวโน้มนี้จะเห็นได้จากสินค้าหลายๆ ตัวที่เริ่มขายในโลกออนไลน์แล้ว เช่น เถ้าแก่น้อย, สินค้าของค่ายแบรนด์ เป็นต้น
          คำแนะนำ : ออนไลน์ คือ ช่องทางที่มีศักยภาพเข้าถึงคนจำนวนมาก การสร้างแบรนด์หรือการจดจำอย่างเดียวอาจจะไม่พอ มันสามารถสร้างต่อเนื่องไปถึงการสร้างยอดขายได้ทันที อยากให้ลองครับ
          4. คนไทยจะช็อปผ่านมือถือและแทบเล็ตเพิ่มมากขึ้น (Growth of Mobile Commerce)
          ปี 2556 จะเป็นปีที่ 3จี แท้ของไทยออกมายลโฉมกันจริงๆ  สักที ราคาจะถูกลงด้วย และมือถือและอุปกรณ์พกพาราคาจะถูกลง ฉลาดและเก่งมากขึ้น มือถือในมือคนไทยจะต่ออินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้น
          คนไทยจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือกันมากขึ้น แน่นอนเมื่อใช้มากขึ้น การซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ ก็จะเพิ่มมากขึ้นอย่างเช่นกัน ทำให้เราก้าวเข้าสู่ ยุคที่ 4  ของอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว (http://www.pawoot.com/thailand-E-Commerce-Generatio)
          อย่างตอนนี้ จำนวนคนใช้มือถือและอุปกรณ์พกพาเข้ามาที่ TARAD.com มากถึง 30% ของจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ทั้งหมด และมียอดขายที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางนี้ 11% และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน เป็นช่องทางที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
          คำแนะนำ : เริ่มสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับ มือถือ (Mobile Site) นอกเหนือจากการสร้างเว็บไซต์ อย่าเพิ่งไป สร้างแอพ เพราะจากข้อมูลทั่วโลก พบว่าคนใช้เว็บบนมือถือมากกว่าแอพในการซื้อสินค้า และการเชื่อมโยงจะทำได้ดีกว่า (หากเป็นแอพ คุณต้องกระตุ้นให้คนโหลดแอพอีก แต่หากเป็นหน้าเว็บสำหรับ มือถือมันเข้าได้ทันที)
          5. การชำเงินผ่านบัตรเดบิต (บัตรเอทีเอ็ม) จะเติบโตมากขึ้น(Raise of Debit Card Payment)

          ปี 2555 เป็นปีที่หลายๆ ธนาคารเริ่มหันมาเปิดให้บัตรเดบิต (Debit Card) หรือบัตรเอทีเอ็ม สามารถใช้ซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้เหมือนบัตรเครดิต ทำให้กลุ่มคนที่ถือบัตรเดบิตที่มีมากกว่า 35 ล้านใบทั่วประเทศ ที่จะเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นเด็กวัยรุ่น และคนทั่วไป ซึ่งจะมีจำนวนมากกว่าคนที่ถือบัตรเครดิตที่มีเพียง 14 ล้านใบเท่านั้น กลุ่มคนจำนวนมากเหล่านี้จะสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้มากขึ้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น