บทที่ 5

กฎหมาย จรรยาบรรณ องค์การที่เกี่ยวข้องกับการขายออนไลน์


กฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544


              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดําเนินการ โดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดมิให้นําพระราชบัญญัตินี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ ความในวรรคหนึ่งไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกฎหมายหรือกฎใดที่กําหนดขึ้นเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในการดําเนินงานของรัฐตามที่กําหนดในหมวด ๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ธุรกรรม” หมายความว่า การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์หรือ ในการดําเนินงานของรัฐตามที่กําหนดในหมวด ๔ 


     “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทาง แสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทําขึ้นโดยใช้วิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน “ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัว อักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดย ผ่านวิธีการใดๆ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือ ประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็น เจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคล ดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น “ระบบข้อมูล” หมายความว่า กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สําหรับ สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ “การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การส่งหรือรับข้อความด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กําหนดไว้ล่วงหน้า “ผู้ส่งข้อมูล” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการ เก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกําหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือมีการส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น “ผู้รับข้อมูล” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้และ ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น “บุคคลที่เป็นสื่อกลาง” หมายความว่า บุคคลซึ่งกระทําการในนามผู้อื่นในการส่ง รับ หรือ เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ รวมถึงให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้น “ใบรับรอง” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใด ซึ่งยืนยันความ เชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ “เจ้าของลายมือชื่อ” หมายความว่า ผู้ซึ่งถือข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น






           “คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ผู้ซึ่งอาจกระทําการใดๆ โดยขึ้นอยู่กับใบรับรองหรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่าง อื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ดําเนินงานของรัฐไม่ว่าในการใดๆ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ บทบัญญัติมาตรา ๑๓ ถึงมาตรา ๒๔ และบทบัญญัติมาตรา ๒๖ ถึงมาตรา ๓๑ จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี




           พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ ใหประกาศวา โดยที่เป นการสมควรแกไขเพิ่มเติมกฎหมายวาด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ให ตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแหงชาติ ดังตอไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกวา “พระราชบัญญัติวาด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ใหใช บังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นตนไป มาตรา ๓ ให เพิ่มความตอไปนี้เปนวรรคสองของมาตรา ๘ แหงพระราชบัญญัติวาด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๔๔
     
           “ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให ต้องมีการปดอากรแสตมป หากได มีการชําระเงินแทนหรือ ดําเนินการอื่นใดด วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสตามหลักเกณฑและวิธีการที่หนวยงานของรัฐซึ่งเกี่ยวข้อง ประกาศกําหนด ให ถือวาหนังสือ หลักฐานเป นหนังสือ หรือเอกสาร ซึ่งมีลักษณะเปนตราสารนั้น ได มีการปดอากรแสตมปและขีดฆาตามกฎหมายนั้นแล้ว ในการนี้ในการกําหนดหลักเกณฑและวิธีการ ของหนวยงานของรัฐดังกลาว คณะกรรมการจะกําหนดกรอบและแนวทางเพื่อเป นมาตรฐานทั่วไป ไว ด้วยก ็ได” มาตรา ๔ ให เพิ่มความตอไปนี้เป นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา ๙ แหงพระราชบัญญัติ วาด  วยธุรกรรมทางอิเล ็ กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๔๔ “วิธีการที่เชื่อถือได ตาม (๒) ให คํานึงถึง ก. ความมั่นคงและรัดกุมของการใช วิธีการหรืออุปกรณในการระบุตัวบุคคล สภาพพร อม ใช งานของทางเลือกในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑเกี่ยวกับลายมือชื่อที่กําหนดไวในกฎหมาย ระดับความมั่นคงปลอดภัยของการใช ลายมือชื่ออิเล ็ กทรอนิกส การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัว บุคคลผูเป นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับหรือไมยอมรับ วิธีการที่ใชในการระบุตัวบุคคลในการทํา ธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ชวงเวลาที่มีการทําธุรกรรมและติดตอสื่อสาร ข. ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทํา จํานวนครั้งหรือความสม่ําเสมอในการ ทําธุรกรรม ประเพณีทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสําคัญ มูลคาของธุรกรรมที่ทํา หรือ ค. ความรดกัมของระบบการติดตอสื่อสาร ให นําความในวรรคหนึ่งมาใช บังคับกับการประทับตราของนิติบุคคลด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส ดวยโดยอนุโลม” มาตรา ๕ ให เพิ่มความตอไปนี้      เปนวรรคสี่ของมาตรา ๑๐ แหงพระราชบัญญัติวาด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๔๔ “ในกรณีที่มีการทําส่ิงพิมพออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกสตามวรรคหนึ่งสําหรับใช อ้างอิง ข้อความของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส หากสิ่งพิมพออกนั้นมีข  อความถูกต  องครบถ้วนตรงกับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส และมีการรับรองสิ่งพิมพออกโดยหนวยงานที่มีอํานาจตามที่คณะกรรมการประกาศ กําหนดแล้ว ให ถือวาสิ่งพิมพออกดังกลาวใช แทนต้นฉบับได” 







        

     
จรรยาบรรณของการขายออนไลน์

      พนักงานขายสามารถแสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณต่อกิจการได้ในกรณี ดังนี้ คือ 1. การปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานเต็มเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย การไม่หลบหนีงาน ไม่เลือก ปฏิบัติงาน ไม่ใช้เวลาของกิจการในการทำงานส่วนตัว เป็นการสร้างนิสัยที่ดี เพราะจะทำให้กิจการ ได้รับความเสียหาย และโดยไม่รู้ตัว ตัดความก้าวหน้าของตนเอง 2. การรักษาทรัพย์สินของกิจการ พนักงานขายควรบำรุงรักษาทรัพย์สินของกิจการเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในกิจการ ไม่ควรนำไปใช้ในงานส่วนตัว เช่น การนำเครื่องมือเครื่องใช้ของกิจการไป ใช้ที่บ้าน เช่น รถยนต์ หรือการนำวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯ ของกิจการไปใช้ในเรื่อง ส่วนตัว เพราะย่อมทำให้กิจการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3. เบิกค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง พนักงานขายที่ปฏิบัติงานในต่างจังหวัด กิจการจะมีสวัสดิการ เกี่ยวกับการให้เบิกค่าน้ำมันรถ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าอาหาร พนักงานขายควรเบิกตามความเป็นจริง ไม่ควรทำหลักฐานเท็จในการปฏิบัติเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะจะทำให้กิจการต้องได้รับความเสียหาย 4. มีความรับผิดชอบต่อผลการทำงาน ในการทำงานบางครั้ง อาจเกิดความผิดพลาด พนักงานขายจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตนเอง การกล้าแสดงความรับผิดชอบ ย่อมเป็นการสร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจ อันจะเป็นประโยชน์ส่งผลดีแก่พนักงานขายโดยตรง 5. การลาออกต้องแจ้งล่วงหน้า พนักงานขายที่ประสงค์จะลาออก เนื่องจากเหตุผลความจำเป็น ส่วนตัว ต้องการเปลี่ยนบริษัท หรือต้องการเพิ่มรายได้เมื่อมีโอกาส ด้วยเหตุผลใด ก็ตาม พนักงานขายควรแจ้งให้กิจการทราบล่วงหน้าก่อนเสมอ ตามระยะเวลาที่กิจการกำหนด โดยตามปกติควรแจ้งล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน ถือเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญประการหนึ่ง

   พนักงานขายสามารถแสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณได้ในกรณี ดังนี้ 1. การเก็บรักษาความลับของลูกค้า เป็นจรรยาบรรณประการแรก ที่พนักงานขายจะต้องไม่ เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ หรือข้อมูลลับของลูกค้าให้กับคู่แข่งขันของลูกค้าทราบ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือ โดยอ้อม เพราะพนักงานขายมักเป็นผู้ทราบข้อมูลของลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าในเขตที่พนักงานขาย รับผิดชอบ การเปิดเผยของลูกค้ารายหนึ่งให้กับลูกค้าอีกรายหนึ่ง ย่อมมีผลต่อการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ของลูกค้า ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย 2. การไม่นำพฤติกรรมของลูกค้ามาเป็นเรื่องตลกขบขัน พนักงานขายต้องพบปะกับลูกค้าเป็น จำนวนมาก ลูกค้าอาจจะมีหลายกลุ่มหลายระดับในสังคม มีความรอบรู้ที่แตกต่างกัน ลูกค้าบางคนอาจ มีปัญหาซักถามบางอย่าง หรือไม่ทันยุคสมัย พนักงานขายไม่ควรนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาล้อเลียน วิพากษ์วิจารณ์ นินทาลูกค้า เพื่อสร้างบรรยากาศในการสนทนา เพราะจะทำให้ ภาพพจน์และชื่อเสียง ของกิจการจะได้รับความเสียหาย และจะขายสินค้าไม่ได้ 3. การละเว้นการเลือกปฏิบัติกับลูกค้า โดยปกติพนักงานขายมักจะให้ความสนใจกับลูกค้า รายใหญ่ เพราะมีอำนาจในการต่อรองสูง โอกาสในการขายสินค้าและได้ค่าตอบแทนจากการขาย ย่อมมีจำนวนสูง แม้จะไม่ผิดหลักเกณฑ์ แต่ก็ไม่ควรปฏิบัติ จนลูกค้ารายย่อยเกิดความรู้สึกว่า พนักงานขายผู้นั้นให้ความสำคัญกับร้านค้าส่งใหญ่ ๆ มากกว่าร้านของตน เพราะจะทำให้ลูกค้า รายย่อยไม่พอใจและเสียโอกาสในการขาย แล้วยังเป็นจุดอ่อนให้กับคู่แข่งขันรุกรานการขายเข้ามา จนสูญเสียลูกค้าได้ในที่สุด 4. การให้ของขวัญ เช่น เทศกาลปีใหม่ การฉลองครบรอบการดำเนินกิจการ การให้ของขวัญ เป็นการแสดงถึงความขอบคุณ การแสดงความยินดี เป็นการแสดงความระลึกถึง และเป็นการแสดง มิตรภาพที่ดีต่อกัน ต้องดูช่วงเวลาให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการให้สินบน 5. การเลี้ยงต้อนรับ พนักงานขายอาจได้รับการเลี้ยงจากลูกค้าเป็นครั้งคราว เนื่องจากลูกค้า มีไมตรีจิตและชวนพนักงานขายไปรับเลี้ยง โดยทั่วไปแล้วธรรมเนียมไทยถือเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรทำตนให้ลูกค้าเป็นฝ่ายเลี้ยงตลอดเวลา พนักงานขายควรเป็นผู้เลี้ยงตอบแทนลูกค้าบ้าง ซึ่งกิจการบางแห่งจะมีค่ารับรองเป็นจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อรับรองลูกค้า



องค์การที่เกี่ยวข้องกับการขายของออนไลน์


-    กฎหมายทะเบียนพาณิชย์    กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร  ทั้งบุคคลและนิติบุคคล  ต้องจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ณ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่  (ที่ว่าการเขต กทม / อบต / เทศบาล / เมืองพัทยา )  
-    กฏหมายขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545  กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการตลาดแบบตรง ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนทำการค้า
-    กฏหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544   ห้ามมิให้ปฏิเสธในการมีผลผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกสิ์  
     หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
-    กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550   ครอบคลุมถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการ หรือแม้แต่ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน  และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
      หน่วยงานรับผิดชอบ   กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
-    กฏหมายคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคล  เป็นกฎหมายที่มีหลักการเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง และกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกฎ ระเบียบการประกอบธุรกิจทั่วไป
-    ประมวลกฎหมายอาญา  กำกับดูแลการประกอบการที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อโกง หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ที่หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม  
      หน่วยงานรับผิดชอบ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
-    กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  กำกับดูแลการโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค มีเจตนาก่อให้เกิดการเข้าใจผิด  ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ  ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ
      หน่วยงานรับผิดชอบ  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
-    กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา   คุ้มครองการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน การทำซ้ำ เพื่อนำไปขาย เผยแพร่ต่อสาธารณะชน หรือ แจกจ่าย  
     หน่วยงานรับผิดชอบ  กระทรวงพาณิชย์
-    กฎหมายกำกับดูแลอาหารและยา  กำหนดมาตรฐานอาหาร/ยา  การแสดงฉลากและโฆษณา รวมทั้งสถานที่ผลิต นำเข้า จำหน่าย  กำกับดูแลให้มีการขึ้นทะเบียน  การขออนุญาตโฆษณาอาหาร/ยา ตามที่กำหนด
     หน่วยงานรับผิดชอบ  กระทรวงสาธารณสุข
-    กฎหมายศุลกากร   กำกับดูแลการจำหน่าย ซื้อ  ซ่อนเร้น รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของที่รู้ว่ายังมิได้เสียค่าภาษีหรือที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง
     หน่วยงานรับผิดชอบ  กระทรวงการคลัง
- กฎหมายภาษีอากร  ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีประจำปี
              ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ได้แก่  บุคคลธรรมดา  คณะบุคคล  ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล  ต้องนำเงินได้พึงประเมินตลอดปีภาษี มาคำนวณภาษี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี
              ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ได้แก่  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  ต้องนำกำไรสุทธิของกิจการมาคำนวณภาษี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี
              ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่  ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี  จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
        หน่วยงานรับผิดชอบ  กรมสรรพากร  กระทรวงการคลัง  

นอกจากนี้ยังมีกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับประเภทธุรกิจที่ขาย/บริการโดยเฉพาะที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจช่องทางปกติ

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากค่ะ เนื้อหาทันสมัย

    ตอบลบ
  2. ขอนำบทเรียนมาเป็นแนวทางในการสอนนะคะ
    🙏🙏🙏

    ตอบลบ